การเปิดดำเนินการตามความหมายของสำนักงาน ไม่ใช่หมายถึงการที่ผู้ได้รับการส่งเสริมเริ่มผลิตหรือจำหน่ายสินค้าหรือบริการ แต่หมายถึงการที่ผู้ได้รับการส่งเสริมได้มีการลงทุนครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริม
ดังนั้น ผู้ได้รับการส่งเสริมจะเริ่มผลิตจำหน่าย และใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ก่อนการได้รับอนุมัติเปิดดำเนินการก็ได้ แต่หากเมื่อครบกำหนดเปิดดำเนินการแล้ว
ไม่สามารถดำเนินการให้ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการได้ จะถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริม และต้องชำระภาษีอากรย้อนหลังพร้อมเบี้ยปรับเงินเพิ่ม
แนวทางในการเปิดดำเนินการเบื้องต้น
โครงการที่จะขอเปิดดำเนินการ ต้องเป็นโครงการได้มีการลงทุนในกระบวนการผลิตหรือการบริการครบตามกำลังการผลิตที่ได้รับส่งเสริมแล้ว
และโครงการสามารถคงไว้ ซึ่งกำลังการผลิตหรือการบริการนี้ และปฏิบัติตามเงื่อนไขสำคัญอื่นๆ ได้ครบตามที่ได้รับอนุมัติ
การเปิดดำเนินการกรณีทั่วไป
- สภาพเครื่องจักร
- ทุนจดทะเบียนและการชำระมูลค่าหุ้น
- สัดส่วนการถือหุ้น
- ชนิดผลิตภัณฑ์หรือบริการและกำลังผลิต
- กรรมวิธีการผลิตหรือบริการ
- แผนผังการติดตั้งเครื่องจักร
- ขนาดการลงทุน หรือการจ้างบุคลากร
- ที่ตั้งโรงงานหรือสถานประกอบการ
- ใบอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง. 4 / กนอ. / แบบข.2) หนังสือรับรองการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว (แบบ ต.7) เป็นต้น
- เงื่อนไขอื่น ๆ ที่กำหนดในบัตรส่งเสริม เช่น กิจการผลิตไฟฟ้า จะต้องมีหนังสืออนุญาตให้บริษัทเชื่อมโยงและขนานไฟฟ้ากับระบบของการไฟฟ้า เป็นต้น

การตรวจสอบสาระสำคัญ (ทั่วไป) ในขั้นเปิดดำเนินการ
- สภาพเครื่องจักร
- รายละเอียดการปรับปรุงประสิทธิภาพที่ได้ดำเนินการแล้ว
- แผนผังการติดตั้งเครื่องจักรตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ
- สรุปการใช้สิทธิเกินฯ ที่ผ่านมา และสำเนา ภงด.50 ตั้งแต่ปีที่ออกบัตรส่งเสริม จนถึงปีปัจจุบัน
- หลักฐานแสดงผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดด้านต่าง ๆ

การตรวจสอบสาระสำคัญตาม มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ.
- วันที่อนุญาตให้เปิดดำเนินการ คือวันที่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วน หรือโดยทั่วไป คือวันครบเปิดดำเนินการที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริม
เอกสารที่ใช้ยื่นขอออกใบอนุญาตเปิดดำเนินการ
1. แบบคำขออนุญาตเปิดดำเนินการ (F PM OP 01) หรือแบบคำขออนุญาตเปิดดำเนินการโครงการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ (F PM OP 19) แนบด้วยแผนภูมิขั้นตอนการผลิตหรือบริการ และแผนผังการติดตั้งเครื่องจักร
2. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นฉบับปัจจุบัน
3. สำเนางบการเงินปีล่าสุด
4. หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
5. สำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน หรือใบอนุญาตที่เป็นข้อบังคับของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
6. สำหรับโครงการที่มีการกำหนดวงเงินภาษีที่ได้รับยกเว้น เนื่องจากจะมีการสรุปยอดเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ที่ได้ลงทุนจวบจนถึงวันครบเปิดดำเนินการ จึงต้องแนบเอกสารเพิ่มเติมดังนี้
- สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด.50)
- บัญชีรายการสินทรัพย์
- เอกสารแนบทะเบียนสินทรัพย์
7. ยื่นแบบคำขออนุญาตเปิดดำเนินการ ที่กองติดตามและประเมินผลการลงทุน 1 – 2 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาค 1 – 7
การขยายระยะเวลาครบเปิดดำเนินการ
- กรณีที่ได้รับการขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร ระยะเวลาครบเปิดดำเนินการจะได้รับการขยายออกไปอีก 6 เดือนโดยอัตโนมัติ ) โดยยื่นขอฯผ่าน ระบบอิเล็กทรอนิกส์ eMT system (Electronic Machine Tracking system)
- กรณีที่ประสงค์จะขยายระยะเวลาครบเปิดดำเนินการ จะอนุญาตให้ขยายได้อีก 1 ปีเพียงครั้งเดียว (ดังนั้น จึงควรขยายระยะเวลาครบเปิดดำเนินการหลังจากที่ได้ขยายระยะเวลาการนำเข้าเครื่องจักรครบแล้ว 3 ครั้ง) โดยยื่นขอฯ ผ่านระบบการขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว (e- Extension)