มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม |
||
คุณสมบัติของผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุน |
1. โครงการที่ดำเนินการอยู่แล้ว ไม่ว่าจะได้รับการส่งเสริมการลงทุนหรือไม่ก็ตาม กรณีที่ 1 : โครงการ BOI สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นสุดแล้ว หรือโครงการ BOI ที่ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีที่ 2 : เป็นโครงการ Non-BOI (ไม่เคยขอรับการส่งเสริม) ทั้ง 2 กรณีต้องเป็นประเภทกิจการที่สำนักงานให้การส่งเสริมในปัจจุบัน |
2. โครงการที่ได้รับการส่งเสริมอยู่เดิม ที่สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลยังไม่สิ้นสุด 3. หรือเป็นโครงการใหม่ที่อยู่ในข่ายได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล |
สิทธิและประโยชน์ |
• ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลระยะเวลา 3 ปี วงเงิน 120% ของเงินสนับสนุนที่จ่ายจริงตามที่สำนักงานกำหนด • กรณีการสนับสนุนด้านสาธารณสุขและด้านการศึกษา ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลระยะเวลา 3 ปี วงเงิน 50% ของเงินสนับสนุน |
• ได้รับวงเงินยกเว้นภาษีได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 120% ของเงินสนับสนุน • กรณีการสนับสนุนด้านสาธารณสุขและด้านการศึกษา ให้ได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 50% ของเงินสนับสนุน |
ขอบข่ายกิจกรรมที่สนับสนุน |
1. พัฒนาด้านการเกษตร 2. พัฒนาการบริหารการจัดการน้ำแบบองค์รวม 3. พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน/OTOP 4. พัฒนาด้านการท่องเที่ยวชุมชน 5. พัฒนาด้านการศึกษา สาธารณสุข และสิ่งแวดล้อมในชุมชน เป็นต้น 6. การลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 |
|
องค์กรท้องถิ่นผู้รับการสนับสนุน |
1. สหกรณ์ 2. วิสาหกิจชุมชน 3. วิสาหกิจเพื่อสังคม 4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5. กลุ่มเกษตรกรในท้องถิ่นที่จดทะเบียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 6. สถานศึกษาของรัฐ 7. สถานพยาบาลของรัฐ | |
เงื่อนไขการสนับสนุน |
- ต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำในโครงการเพื่อใช้ในการสนับสนุนองค์กรท้องถิ่น ทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) - ต้องให้เงินสนับสนุนองค์กรท้องถิ่นไม่น้อยกว่า 5 แสนบาท ต่อราย |
- ค่าก่อสร้างโรงงาน
- ค่าเครื่องจักรและอุปกรณ์
- ค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์
- ค่าสนับสนุนเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการศึกษา
- ค่าฝึกอบรม
- ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่สำนักงานเห็นชอบ เป็นต้น
** ทั้งนี้ จะต้องไม่เป็นค่าใช้จ่ายที่นำไปขอรับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีซ้ำซ้อนกับหน่วยงานภาครัฐอื่น
- สามารถสนับสนุนท้องถิ่นโดยตรง หรือ ดำเนินการผ่านสถาบันการศึกษา/สถาบันวิจัยของรัฐ
- ต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 3 ปี นับจากวันออกบัตรส่งเสริม
- ประเภทกิจการ 1.2.7 กิจการผลิตน้ำตาลทราย สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการนี้ เฉพาะกรณีการสนับสนุนการลดปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 จากภาคการเกษตรตามที่สำนักงานเห็นชอบ เช่น การสนับสนุนเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการตัดต้นอ้อย หรืออัดใบอ้อยเพื่อส่งโรงไฟฟ้าชีวมวลซึ่งจะช่วยลดการ
- สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพ ด้านการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและระบบอัตโนมัติ ด้านการใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และด้านการยกระดับไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ในโครงการเดียวกันได้
ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 1/2568 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม