Chat
x
toggle menu
toggle menu

Press Release Detail

ผู้แทนการค้าไทย ผนึกกำลังบีโอไอ ดึงยักษ์ใหญ่สหรัฐฯ ชูจุดเด่น พลังงานหมุนเวียน – EV – ดิจิทัล - อิเล็กทรอนิกส์

บีโอไอเผยความสำเร็จโรดโชว์ใหญ่ครั้งแรกของปี 2566 ระหว่างวันที่ 1 – 3 กุมภาพันธ์ 2566 โดยผนึกกำลังผู้แทนการค้าไทย - ผู้แทนหน่วยงานไทย บุกดึงการลงทุนบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของสหรัฐอเมริกา สร้างความเชื่อมั่นและตอกย้ำมาตรการสนับสนุนในอุตสาหกรรมดิจิทัล และอิเล็กทรอนิกส์ ตามยุทธศาสตร์ใหม่ที่ได้ประกาศไป โดยได้รับเสียงตอบรับที่ดี บริษัทชั้นนำสหรัฐฯ ลั่นพร้อมเดินหน้าลงทุนในประเทศไทย

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ เปิดเผยภายหลังการเดินสายโรดโชว์ครั้งแรกของปี 2566 ณ นครซีแอตเติล และนครซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริการะหว่างวันที่ 1 – 3 กุมภาพันธ์ 2566 นำโดย หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร ผู้แทนการค้าไทย ซึ่งคณะประกอบด้วย เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน กงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส ผู้แทนจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยได้เข้าพบหารือกับผู้บริหารของบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ บริษัท Amazon Web Services (AWS) ที่ได้ประกาศลงทุนในประเทศไทยด้วยเงินลงทุนกว่า 1.9 แสนล้านบาท บริษัท Google ที่ประกาศจัดตั้ง Google Cloud Region ในประเทศไทย บริษัท Microsoft ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ ของโลกที่ทำธุรกิจในไทยมายาวนาน บริษัท Western Digital ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์รายใหญ่ของโลก ซึ่งมี ฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทอยู่ในประเทศไทย และบริษัท Analog Devices ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์และ IC อันดับต้นของโลก ซึ่งได้ลงทุนและขยายฐานการประกอบและทดสอบเซมิคอนดัคเตอร์ในไทย อย่างต่อเนื่อง

ในการหารือกับสหรัฐฯ ผู้แทนการค้าไทยได้นำเสนอทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยไปสู่เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ทั้งการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าถึงร้อยละ 50 การกำหนดเป้าหมายและแผนปฏิบัติในการลดการปล่อยคาร์บอน รวมทั้งการส่งเสริมเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) อีกทั้งยังได้ชูนโยบายมุ่งเป้าใน 3 อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่

1. อุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายเปลี่ยนผ่านไปสู่การผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่ออกมาตรการสนับสนุนแบบครบวงจร โดยเฉพาะการให้เงินอุดหนุนการซื้อรถยนต์ EV เพื่อสร้างตลาดในประเทศ และจะก่อให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องตามมา โดยเฉพาะการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และการพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มต่าง ๆ สำหรับ EV

2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต้นน้ำ เช่น การผลิตเวเฟอร์ (Wafer Fabrication) การออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ การวิจัยและพัฒนา นอกเหนือจากการประกอบและทดสอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ซึ่งประเทศไทยมีบริษัท รายใหญ่ตั้งฐานการผลิตอยู่แล้ว

3. อุตสาหกรรมดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เช่น ดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ บริการคลาวด์ที่มีคุณภาพสูง เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

นอกจากนี้ คณะผู้แทนประเทศไทยยังได้นำเสนอมาตรการส่งเสริมการลงทุนต่าง ๆ รวมทั้งการ อำนวยความสะดวกผ่าน Long Term Resident (LTR) Visa อีกทั้งบริษัทได้สอบถามและหารือในประเด็นอื่น ๆ เช่น กลไกการจัดหาพลังงานหมุนเวียนสำหรับภาคอุตสาหกรรม แนวทางการลดผลกระทบจากข้อกำหนด Global Minimum Tax การพัฒนาบุคลากรและระบบนิเวศเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย และความ ตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ที่มีกับประเทศต่าง ๆ

“จากการที่บีโอไอได้ประกาศยุทธศาสตร์ใหม่ โดยมุ่งเน้นการลงทุนใน 5 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ BCG ยานยนต์ไฟฟ้า สมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ ดิจิทัล และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โรดโชว์ครั้งแรกของปีนี้ จึงได้เจาะไปที่สหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ โดยทีมประเทศไทยได้ชูจุดเด่น ทั้งในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ ซัพพลายเชนครบวงจร รวมทั้งความสามารถในการจัดหาพลังงานหมุนเวียนสำหรับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของบริษัทชั้นนำ นอกจากนี้ บีโอไอยังมีมาตรการใหม่ ๆ หลายเรื่องที่เป็นประโยชน์กับนักลงทุนสหรัฐฯ เช่น มาตรการรักษาและขยายฐานการผลิตเดิม มาตรการส่งเสริมการย้ายฐานธุรกิจแบบครบวงจร มาตรการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร และมาตรการยกระดับอุตสาหกรรมไปสู่ Smart and Sustainable Industry ทำให้ได้รับการตอบรับที่ดีจากบริษัทรายใหญ่ของสหรัฐฯ ซึ่งได้ยืนยันขยายฐานธุรกิจในไทยระยะยาว” นายนฤตม์ กล่าว

ทั้งนี้ ในปี 2565 มีคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากสหรัฐอเมริกา จำนวน 33 โครงการ เงินลงทุนรวม 50,296 ล้านบาท สูงเป็นอันดับ 3 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรม

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map