Chat
x
toggle menu
toggle menu

พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐

พระราชกรณียกิจ ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐


พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจมาตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์ ทั้งการเสด็จพระราช ดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ยิ่งเจริญพระชนมายุมากขึ้น พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติก็เพิ่ม มากขึ้นนานัปการ ทั้งที่ทรงปฏิบัติแทนพระองค์ และทรงปฏิบัติในส่วนพระองค์เอง พระราชวิริยอุตสาหะ และพระราชหฤทัยอันมุ่งมั่น เป็นที่ประจักษ์แก่ปวงชนชาวไทยตลอดมา สมดังพระราชดำรัสที่ทรงปฏิญาณไว้ ทั้งมีพระราชดำรัส ย้ำถึงพระราชปณิธานที่จะทรงงานเพื่อ ความผาสุกของอาณาประชาราษฎร์อีกครั้ง ในงานสโมสรสันนิบาตที่รัฐบาลจัดถวายเพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่ได้ทรงดำรงพระอิสริยศักดิ์เป็นสยามมกุฎราชกุมาร ความว่า

...ข้าพเจ้าทราบตระหนักว่า ข้าพเจ้ามีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อประเทศชาติอย่างสูง และการปฏิบัติราชการแผ่นดินนั้น เป็นภาระสำคัญใหญ่ยิ่ง ที่ต้องอาศัยทั้งสติปัญญาและความรู้ความสามารถอย่างพร้อมมูล ข้าพเจ้าจะต้องเพียรพยายาม ศึกษาและปฏิบัติฝึกฝนตนเองต่อไปอีกอย่างมาก เพื่อให้สามารถเหมาะสม กับหน้าที่ ตามที่ทุกคนมุ่งหวัง... ในโอกาสอันพิเศษนี้ จึงใคร่ขอให้ท่านทั้งหลายได้เป็นกำลังใจสนับสนุนข้าพเจ้า และได้ตั้งความ ปรารถนาร่วมกันกับข้าพเจ้าที่จะมุ่งมั่นประกอบกรณียกิจ ด้วยความสามัคคีพร้อมเพรียง และด้วยความสุจริตยุติธรรม เพื่อยังความเจริญมั่นคงและความร่มเย็นเป็นผาสุกให้บังเกิดแก่ชาติ ประเทศ และ ประชาชนยั่งยืน สืบไป... เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕

ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้วที่พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งปวง ซึ่งได้ทรงปฏิบัติโดย ไม่เห็น แก่ความเหนื่อยยากลำบากพระวรกายนั้น ล้วนเป็นไปเพื่อสร้างสรรค์ความผาสุกสงบ แก่ประชาชน นำความเจริญไพบูลย์และความมั่นคงมาสู่ประเทศ ทั้งพระราชกรณียกิจ ด้านการ แพทย์และสาธารณสุข การศึกษา การเกษตร การสังคมสงเคราะห์ การทหารและ การบิน การศาสนา การกีฬา และการต่างประเทศ เป็นอาทิ

พระราชกรณียกิจด้านการทหาร


พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำรงพระยศ ทางทหารของ ๓ เหล่าทัพ คือ พลเอก พลเรือเอก และพลอากาศเอก และได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการทหาร โดยทรงเข้าร่วม ปฏิบัติการรบในหลายพื้นท ี่รวมทั้งการคุ้มกันพื้นที่บริเวณรอบค่าย ผู้อพยพชาวกัมพูชา ที่เขาล้าน จังหวัดตราดด้วย ซึ่งแม้เป็นพระราชภารกิจที่ต้องทรงเสี่ยงภยันตราย แต่ด้วยความที่ทรงเป็นชาติชายทหาร และเป็นพระราชภารกิจเพื่อความผาสุกของพสกนิกรและเพื่อ มนุษยธรรมต่อผู้ประสบทุกข์ยากจึงทรงปฏิบัติพระราชภารกิจดังกล่าว โดยเต็มพระราชกำลัง

พระราชกรณียกิจด้านการบิน


พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยด้านอากาศยานและการบินมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ โดยทรงสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยการทหารดันทรูน แคนเบอร์รา ออสเตรเลีย และด้านการบินเป็นพิเศษ จนได้รับการขนานนามว่า “กษัตริย์นักบิน” โดยเฉพาะเครื่องบินพาณิชย์ในตำแหน่งนักบินที่ ๑ พระองค์ทรงพระปรีชาชาญในวิทยาการ ด้านการบิน ทรงรอบรู้เทคนิคสมัยใหม่ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เคยทรงเข้าร่วมการแข่งขันการใช้อาวุธทางอากาศ ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และทรงชนะเลิศการแข่งขัน เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๐ ทรงได้รับใบอนุญาตครูฝึกภาคอากาศและผู้ตรวจสอบนักบินสำหรับเครื่องบินพาณิชย์ทรงผ่านการฝึกบินด้วยเครื่องบินใบพัด แบบมาร์คเคตตี้ของฝูงขั้นปลาย โรงเรียนการบิน กองทัพอากาศ และการฝึกบินด้วยเครื่องบินไอพ่น แบบ ที่ ๓๓ และหลักสูตรนักบินขับไล่ไอพ่นสมรรถนะสูงกับเครื่องบินขับไล่ แบบ เอฟ ๕ อี/เอฟ ของกองบิน ๑ ฝูงบิน ๑๐๒ ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรการบินในฐานะนักบินโบอิ้ง ๗๓๗ - ๔๐๐ จากบริษัท การบินไทย จำกัด ( มหาชน ) และทรงผ่านการตรวจสอบจากการขนส่งทางอากาศ ทรงได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก เมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๔๘ ทรงเข้ารับการฝึกหลักสูตรกัปตัน จากบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และทรงรับการทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายตำแหน่งนักบินที่ ๑ ในพุทธศักราช ๒๕๔๙ ทั้งนี้ ทรงปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ ๑ อย่างดีเยี่ยมสม่ำเสมอ รวมชั่วโมงบิน ๓,๐๐๐ ชั่วโมงเดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๒ กรมการขนส่งทางอากาศได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายใบรับรองในตำแหน่งครูฝึกภาคอากาศกับตำแหน่ง ครูฝึกเครื่องช่วยฝึกบิน สำหรับเครื่องบินโบอิ้ง ๗๓๗ - ๔๐๐ ทรงดำรงพระยศทางทหารของ ๓ เหล่าทัพ คือ พลเอก พลเรือเอก และพลอากาศเอก และได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการทหาร โดยทรงเข้าร่วมปฏิบัติการรบในการต่อต้านการก่อการร้ายในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของปวงชนชาวไทย

พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา


พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบดีว่า เยาวชนในถิ่นทุรกันดารยังด้อยโอกาสในการศึกษา พระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนกระทรวงศึกษาธิการ จัดสร้างโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาในส่วนภูมิภาค ๖ แห่งนอกจากเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์ด้วยพระองค์เอง และทรงรับโรงเรียน ไว้ในพระราชูปถัมภ์แล้ว ยังพระราชทานวัสดุอุปกรณ์การศึกษาอันทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ พระราชทาน คำแนะนำ และทรงส่งเสริมให้โรงเรียนดำเนินโครงการอันเป็นประโยชน์แก่นักเรียน เช่น โครงการอาชีพอิสระ เพื่อให้เยาวชน ใช้ความรู้ประกอบอาชีพเลี้ยงตนและครอบครัวได้เมื่อจบการศึกษา

พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และการสาธารณสุข


พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักว่าสุขภาพพลานามัยอันดีของประชาชนเป็นปัจจัย สำคัญของการสร้างสรรค์ทรัพยากรบุคคลอันมีคุณภาพ ไว้เป็นพลังในการพัฒนาประเทศ จึงทรงสนพระราชหฤทัยในการ ประกอบพระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข เมื่อเสด็จพระราชดำเนินออกทรงเยี่ยมราษฎรในส่วนภูมิภาค จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะแพทย์ที่ตามเสด็จ ตรวจรักษาโรคแก่ประชาชนและทรงรับผู้ป่วยที่ยากไร้ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ตลอดมา



ทุกคนที่ทำงานให้แก่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจะต้องไม่ลืมว่าโรงพยาบาลแห่งนี้ กำเนิดขึ้นจากความุ่งมั่นปรารถนาอันแรงกล้าของคนไทยทั่วราชอาณาจักร ที่ต้องการที่จะเห็นผู้ที่อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดารทุกหนแห่งได้รับความเอาใจใส่รักษาพยาบาลเป็นอย่างดี ให้ปลอดภัยจากความเจ็บไข้โดยทั่วถึงเสมอหน้ากัน ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำรัสแก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล

พระราชกรณียกิจด้านการพระศาสนา


พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร ทรงแสดงพระองค์ เป็นพุทธมามกะที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๐๙ ก่อนเสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาที่ประเทศ อังกฤษและมีพระราชศรัทธาทรงออกผนวชในพระบวรพระพุทธ ศาสนา เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๑ ระหว่างทรงผนวช ทรงศึกษา และปฎิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด นอกจากนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปปฏิบัติพระราชกิจทางศาสนาเป็นประจำเสมอ เช่น ทรงเปลี่ยน เครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามฤดูกาลเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไป ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬห บูชา วันเข้าพรรษา และการถวายกฐินหลวงตามวัดต่าง ๆ เป็นต้น

พระราชกรณียกิจด้านการต่างประเทศ


พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระวิริยะ อุตสาหะประกอบพระราชกรณียกิจสำคัญ ๆ ในการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ เสมอมา ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ไปทรงเยือนมิตรประเทศทั่วทุกทวีปอย่างเป็นทางการเป็นประจำทุกปี ปีละหลายครั้ง เช่น เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนประเทศอิตาลี และทรงเฝ้าฯ พระสันตะปาปาเมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๒๕

พระราชกรณียกิจด้านการกีฬา


พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจทั้งในฐานะผู้แทนพระองค์และในส่วนของพระองค์เองนานัปการ เช่น การพระราชทานไฟพระฤกษ์ กีฬา เยาวชนแห่งชาติพระราชทานพระราชวโรกาสให้นักกีฬาไทยผู้นำความสำเร็จนำเกียรติยศมาสู่ประเทศชาติเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท รับพระราชทานรางวัลนักกีฬายอดเยี่ยม รับพระราชทานพร และทรงแสดงความชื่นชมยินดี ซึ่งนักกีฬาของไทยต่างสำนึกในพระมหา กรุณาธิคุณมีความปลาบปลื้มในสิริมงคลและมีขวัญกำลังใจที่จะนำความสำเร็จและนำเกียรติยศมาสู่ตนเอง สู่วงศ์ตระกูล และประเทศ ชาติต่อไป

พระราชกรณียกิจด้านการสังคมสงเคราะห์


พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาห่วงใยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนที่ด้อยโอกาสและขาดแคลน ได้ทรงพระอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมชุมชนแออัดใน กรุงเทพฯหลายแห่ง เช่น ชุมชนแออัดเขตพระโขนงเขตคลองเตย เขตยานนาวา เป็นต้น ทรงพระกรุณาพระราชทานเครื่องอุปโภค บริโภค เครื่องกีฬา เครื่องดับเพลิง โปรดเกล้าฯ ให้กรมทหารในบังคับบัญชาของพระองค์ ร่วมกับประชาชนพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทั้งยังพระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนโครงการของชุมชน เช่น โครงการพัฒนาเด็กเล็กที่ขาดแคลน โครงการปราบปรามยาเสพติดในหมู่เยาวชนชุมชนแออัดคลองเตย เพื่อให้เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสเหล่านั้นเติบโตเป็นพลเมืองดีและเป็นทรัพยากร บุคคลที่มีคุณค่าในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

พระราชกรณียกิจด้านการเกษตร


พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญ พระราชกรณียกิจเพื่อส่งเสริมด้านการเกษตรกรรมอันเป็นอาชีพหลักของปวงชนชาวไทยตลอดมา เช่น เสด็จพระราชดำเนิน แทนพระองค์ในการพระราชพิธีพืชมงคล ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นประจำ

พระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ


พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินตามรอยพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงให้ความสำคัญกับ “น้ำ” ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ของพสกนิกรโดยถ้วนทั่ว

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map